หน้าหลัก

     โรคภูมิแพ้

     หนังสือ     ผลิตภัณฑ์       แพทย์       แผนที่ Link

   www . allergyasthmathailand . com    
       
 

             

   
 

        

 
 

               โรคผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Atopic Dermatitis)

 
 

      

 
 

               โรคนี้จัดเป็นโรคในกลุ่ม”โรคภูมิแพ้”ที่มีอาการแสดงออกทางผิวหนัง พบบ่อยในเด็ก
ในประเทศไทยสำรวจพบโรคนี้ในเด็กประมาณ 13%


               ในเด็กที่เป็นโรคนี้ 70%พบว่าเป็นกลุ่มที่มีประวัติกรรมพันธุ์ในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้
เช่น จมูกอักเสบจากภูมิแพ้,หอบหืด ผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง


               โรคนี้สามารถเรื้อรังต่อเนื่องไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ได้ในบางราย

 
 

      

 
 

               อาการและลักษณะของผื่น

 
 

               มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนัง ผิวแห้ง มีผื่นแดง บวม อาจมีน้ำเหลืองซึม
หากทิ้งไว้นาน ผิวบริเวณผื่นจะหนาตัวและแห้ง
อาการเด่นคือ คัน
               บางรายอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้เกิดเป็นหนองได้ด้วย
บริเวณที่เกิดผื่นจะแตกต่างกันไปตามวัย ได้แก่


วัยทารก อายุ 2 เดือน - 2 ปี
               มักมีผื่นขึ้นที่ใบหน้า รอบปาก แก้ม รอบใบหู ด้านนอกของแขนขา ข้อมือ ข้อเท้า
ผื่นจะแดง คัน มีน้ำเหลือง และแห้งเป็นสะเก็ด


วัยเด็ก อายุ 2 ปี - วัยรุ่น
               มักเป็นผื่นตามข้อพับแขนขา รอบคอ ข้อมือ ข้อเท้า เปลือกตา ใบหู
ผื่นจะหนา แห้ง เป็นขุย คัน


วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่
               ตำแหน่งของผื่นเช่นเดียวกับวัยเด็ก อาจพบที่มือร่วมด้วย
ผื่นจะหนามากขึ้น อาจแตกเป็นร่อง ถ้าเป็นมากอาจเป็นได้ทั่วตัว

 
 

        

 
 

               สาเหตุ

 
 

               ไม่ทราบแน่นอน
แต่พบว่ากรรมพันธุ์การเป็นโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะพบว่าเด็กมักมีประวัติกรรมพันธุ์ในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้
พบว่าการให้รับประทานอาหารที่มีโอกาสแพ้สูง เช่น นมวัว ไข่ ถั่ว แป้งสาลี ก่อนวัยอันควร อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดโรค
               ตัวไรฝุ่นอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้ในบางราย

 
 

        

 
 

               การรักษาและข้อควรปฏิบัติ

 
 

               1.หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบกระด้าง, ผ้าใยสังเคราะห์, ผ้าขนสัตว์
ควรใช้แต่เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย
               2.ใช้เฉพาะสบู่อ่อนหรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน
ไม่ควรใช้ผงซักฟอกอย่างแรง และการซักผ้าควรล้างน้ำหลายๆครั้ง
               3. ไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือน้ำยาฉีดผ้าเรียบ
               4. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ในเด็กเล็กควรสวมถุงมือ โดยเฉพาะเวลานอน
               5. ใส่เสื้อผ้าปกปิดบริเวณที่เป็นผื่น
               6.ควรหลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อให้อาการกำเริบ เช่น ฝุ่นละออง, สัตว์เลี้ยง, น้ำหอม, spray, อาหารชนิดที่ทราบว่าแพ้
               7.การอาบน้ำ ควรใช้การตักอาบหรืออาบในอ่างอาบน้ำจะดีกว่าอาบด้วยฝักบัว
ควรอาบน้ำนานประมาณ 20 นาทีเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น ใช้สบู่อ่อนๆ หรือสบู่ที่ทำขึ้นเฉพาะโรคนี้
               8.อาจผสม oil ลงในน้ำที่อาบ
               9.เช็ดตัวด้วยการซับด้วยผ้านุ่มๆ ไม่ควรถูแรงๆ แล้วทายาและครีมบำรุงผิวทันที ขณะผิวยังไม่แห้งสนิท
               10. ถ้าผิวแห้ง ควรทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวบ่อยๆ
               11. บริเวณผื่นที่เป็นมากๆ อาจใช้ผ้ากอซปิดทับหลังทายา เพื่อเพิ่มการดูดซึมยา
               12.ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่นกีฬากลางแจ้ง
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศเย็นและแห้งเป็นประจำ
               13.ในเด็กที่มีประวัติกรรมพันธุ์เป็นโรคภูมิแพ้ ควรดื่มนมมารดา และเริ่มให้อาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ เช่น ไข่ แป้งสาลี ถั่ว อาหารทะเล ให้ช้ากว่าเด็กทั่วไป
               14.รับประทานยาและทายาตามแพทย์สั่ง
               15.การทายาควรทาภายใน 3 นาทีหลังอาบน้ำเช็ดตัวเสร็จ

 
 

        

 
 

               สงวนลิขสิทธิ์ โดย

 
 

               พญ. สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ และ ผศ.นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

 
 

         

 
 

         

 
 

Copyright©08  allergyasthmathailand.com all rights reserved

 
 

หน้าหลัก l คลินิก l โรคภูมิแพ้ l หนังสือ l ผลิตภัณฑ์ l แพทย์ l แผนที่